วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ Internet Proxy-Services

ความรู้เกี่ยวกับ Internet Proxy-Services



internet proxy-service


ความเป็นมา
ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารด้วยโปรโตคอล TCP/IP ได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และมีการเชื่อต่อกันเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นเครือข่ายความพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดเครือข่ายหนึ่ง จนได้รับการขนานนามว่า อภิมหาเครือข่าย (Internet) จากจุดเริ่มต้นของการใช้อินเตอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพียง 4 เครื่อง จนถึงปัจจุบันเวลาผ่านไปประมาณ 30 ปี มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นถึง 16 ล้านเครื่อง และมีผู้ใช้มากกว่า 1,000 ล้านคน และยังมีแนวโน้มที่มากขึ้นเป็นทวีคูณ

เมื่อปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายและจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณ ข้อมูลที่ผ่านเข้าออกในเครือข่ายมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาการคับคั่งของข้อมูลปริมาณมาก

ปัญหาที่พบ

เมื่อจำนวนของข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้เครือข่ายที่มีอยู่เดิมนั้น ต้องรับภาระในการ บริการข้อมูลจำนวนมาก บางเครือข่ายไม่สามารถให้บริการใด ๆ ได้เลย หรือบางเครือข่ายไม่สามารถบริการได้ เท่ากับความต้องการของผู้ใช้เช่น เกิดความล่าช้อของข้อมูล หรือ มีการสูญหายเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนไม่สามารถที่จะยอมรับได้
ถึงแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยี ของสายนำสัญญาณจะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก กล่าวคือสามารถที่จะส่งข้อมูลได้ ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นกว่าเดิมมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้อยู่ดี

แนวทางแก้ปัญหา
มีกลุ่มคนหลายกลุ่มที่พยายามที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ทั้งที่เน้นการแก้ปัญหาความคับคั่งของปริมาณข้อมูล
  1. แนวความความคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การนำข้อมูลที่ต้องใช้บ่อย ๆ มาเก็บไว้ให้ใกล้เราที่สุด นั้นคือการนำข้อมูล ที่มีในที่ต่าง ๆ ที่สมาชิกใน local network ต้องการใช้บ่อยครั้งมาเก็บไว้ใน local network เช่น การทำ FTP Server ภายในหน่วยงาน ซึ่งจะทำการ mirrors ข้อมูลจาก FTP site ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลน่าใช้มาเก็บไว้ เพื่อลดปริมาณการติดต่อกับภายนอกเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ การติดต่อกับเครือข่ายภายนอกมีความคล่องตัวสูงขึ้น
  2. อีกแนวความคิดหนึ่งที่มีผู้นำมาประยุกต์จนสามารถใช้งานได้จริงคือ การคัดเลือกการติดต่อที่ไม่ต้องการการโต้ตอบ แบบทันทีทันใด เช่น FTP, HTTP มาพัฒนาจนได้ server ที่มีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับข้อ 1 ซึ่งการทำงานของ server ลักษณะนี้คือ เมื่อ client ต้องการข้อมูลใดที่เป็นลักษณะของ HTTP หรือ FTP จะติดต่อผ่าน Proxy Server หากข้อมูลนั้นปรากฎอยู่บน proxy ก็จะนำข้อมูลนั้นมา ใช้ แต่ถ้าไม่พบ proxy ก็จะติดต่อไปยังปลายทาง(แหล่งที่ client ต้องการข้อมูล) และสำเนาข้อมูลนั้นมาเก็บที่ server

    ภาพแสดงการทำงานของ Proxy Server

Proxy Server Service

การเชื่อมต่อ Proxy Server กันจนเป็นเครือข่ายก็เป็นระบบที่ช่วยให้ปริมาณข้อมูลที่ต้องวิ่งเข้า-ออก ลดลงได้มาก ดังตัวอย่างที่ยกมา เป็นการจำลองว่า ถ้าผู้ใช้ WEB อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องการ link ไปที่บริษัทในประเทศ หาก เคยมีผู้ link ไปยัง site นี้แล้ว ก็จะไม่มีการ download ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน proxy มาอีก ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณ ของ data-stream ลงไปในระดับหนึ่ง หรือหากไม่มีข้อมูลใน Proxy.ku.ac.th ก็จะไปตรวจใน Proxy.ac.th ไปเป็นทอด ๆ หากไม่มีข้อมูลอยู่ใน Proxy Server ใด ๆ เลย ก็จะไปอ่านข้อมูลจาก Web-Site นั้น

ภาพแสดงการเชื่อมต่อกันระหว่าง Proxy Server จนเป็นระบบขนาดใหญ่

ข้อเสีย
ข้อเสียของระบบนี้คือ บางครั้งอาจไม่ได้ข้อมูลที่ใหม่ที่สุด เนื่อจาก proxy server บางที่ มีการ update ข้อมูลเป็นประจำ แต่บางที่ไม่ค่ อยมีการ update ข้อมูลเท่าใดนัก

ตัวอย่างการทำงานของ Proxy
  1. Client ร้องขอข้อมูลจาก Proxy Server
  2. Proxy Server ตรวจสอบข้อมูลที่จะ download ว่า ข้อมูลใน disk กับข้อมูลที่ Server ปลายทาง อันไหน ใหม่ที่สุด หากข้อมูลที่ปลายทางใหม่กว่าก็จะ download มาเก็บไว้ใน disk ก่อน จากนั้นจึงส่งกลับไปให้ client
  3. Client นำข้อมูลที่ได้ไปแสดงผล หรือ นำไปใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น