เทคโนโลยีมัลติ |
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ความหมายของมัลติมีเดีย
"มัลติมีเดีย" เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
องค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้
มัลติมีเดียมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นได้ยิน สามารถโต้ตอบแบบปฏิสัมพันธ์ได้
2. การเชื่อมโยง สื่อสาร ทำให้สื่อต่าง ๆ ไหลเข้ามาเชื่อมโยงและนำเสนอได้
3. ซอฟต์แวร์ ทำให้เราท่องไปในเครือข่ายที่เชื่อมโยงข่าวสาร
4. มัลติมีเดีย ต้องให้เราในฐานะผู้ใช้สามารถสร้าง ประมวลผล และสื่อสารข่าวสารต่าง ๆ ได้
มัลติมีเดียจึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายอย่างที่ประกอบกัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็ไม่สามารถเรียกว่า "มัลติมีเดีย" เช่นถ้าขาดคอมพิวเตอร์จะทำให้เราไม่สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่มัลติมีเดีย..น่าจะเรียกว่าการแสดงสื่อหลายสื่อ แต่ถ้าขาดการเชื่อมโยงสื่อสาร ก็จะเหมือนกับเป็นข่าวสารไว้ในชั้นหนังสือ หรือถ้าขาดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เราท่องไปหรือมีส่วนเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วยก็จะเหมือนกับดูภาพยนตร์และถ้าขาดช่องทางที่จะให้ผู้ใช้เข้าไปมีส่วนร่วม ก็จะเหมือนกับโทรทัศน์
ช่องสัญญาณสื่อสารสำคัญต่อมัลติมีเดีย
มัลติมีเดียประกอบด้วยเทคโนโลยีการสร้างและประมวลผลวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและรูปภาพ เมื่อมีการสื่อสารร่วมด้วย ทำให้ต้องใช้ช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) รองรับการทำงานสื่อสารสองทิศทาง โดยเน้นการย่นระยะทางไกล ๆ ให้เสมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสื่อสารข้อมูลที่รองรับมัลติมีเดียต้องมีการรับประกันการบริการ (QoS - Quality of Service) กล่าวคือ การับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็นสายข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจะต้องถึงปลายทางตามกำหนดเวลา และให้รูปแบบที่ต่อเนื่องได้ลองนึกดูว่าหากต้องการส่งหรือรับข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวก็ดี เสียงก็ดีจะต้องมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะขาดหายเป็นช่วง ๆ ไม่ได้ ดังนั้น คุณภาพของระบบมัลติมีเดียจึงเกี่ยวโยงกับระบบสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลอันรวดเร็วมากของซีพียูในคอมพิวเตอร์ด้วย
เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล
สิ่งที่สำคัญตามมาคือ "มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง
ชนิดของโปรโตคอลสื่อสาร
เราแบ่งแยกชนิดของโปรโตคอลสื่อสารให้รองรับในระบบมัลติมีเดียออกเป็น 2 แบบคือ "โปรโตคอลเชื่อมโยง (Connection Protocol)" และ "โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง (Connection Protocol)"
"โปรโตคอลเชื่อมโยง" หมายถึง ก่อนการรับส่งสายข้อมูลจริง จะต้องมีการตรวจสอบสำรวจหาเส้นทาง เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งเชื่อมโยงกันได้ก่อน จากนั้นสายข้อมูลจึงจะไหลไปตามการเชื่อมโยงนั้น
"โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง" อาศัยการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีการกำหนดแอดเดรสไว้บนแพ็กเก็ต อุปกรณ์สื่อสารบนเส้นทางจะส่งต่อกันไปจนถึงปลายทางได้เอง
ดังนั้น การใช้มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงต้องมีการพัมนาเทคโนโลยีต่าง ๆ บนโปรโตคอลทั้งสองนี้ให้ใช้งานได้บนเครือข่าย ลักษณะของการประยุกต์มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงมีหลายรูปแบบ คือ
"การสื่อสารแบบ Broadcast" คือสถานีบริการหนึ่งสามารถส่งกระจายข่าวสารมัลติมีเดียไปให้กับผู้ขอให้บริการ (Client) ที่อยู่บนเครือข่ายได้ทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน โดยต้องการให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับได้ นั่นคือร่วมเล่นเกมโชว์จากทางบ้านได้ เป็นต้น
"การสื่อสารแบบ Unicast or pointcast" เป็นการกระจายข่าวสารจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลแอนต์ในลักษณะเจาะจงตัว เช่น เซิร์ฟเวอร์เป็นสถานีบริการข่ายผู้ใช้อยู่ที่บ้านต้องการรับข่าวสารก็สามารถบอกรับ โดยเลือกหัวข้อข่าวสารต่าง ๆ ตามที่ตนเองสนใจ เมื่อเซิร์ฟเวอร์มีข่าวใหม่ในหัวข้อที่ผู้ใช้คนใดสนใจก็จะติดต่อส่งข่าวสารมาให้โดยเลือกส่งเฉพาะบุคคล
"การสื่อสารแบบ Multicast" การสื่อสารแบบนี้แตกต่างจากแบบ Broadcast ซึ่งกระจายข่าวสารทั่วทั้งเครือข่าย แต่ Multicast จะกระจายแบบเจาะจงไปยังผู้ใช้ตามที่ได้เรียกขอมา
MBONE ทำให้สารสื่อสารข้อมูลที่ไปยังผู้ใช้ ลดลงเหลือเพียงสายเดียว
การพัฒนาระบบเครือข่าย
หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไร
สายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก ปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า "Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย
--------------------------------------------------------------------------------
ความหมายของมัลติมีเดีย
"มัลติมีเดีย" เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ โดยเน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
องค์ประกอบที่ขาดกันไม่ได้
มัลติมีเดียมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
1. คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราเห็นได้ยิน สามารถโต้ตอบแบบปฏิสัมพันธ์ได้
2. การเชื่อมโยง สื่อสาร ทำให้สื่อต่าง ๆ ไหลเข้ามาเชื่อมโยงและนำเสนอได้
3. ซอฟต์แวร์ ทำให้เราท่องไปในเครือข่ายที่เชื่อมโยงข่าวสาร
4. มัลติมีเดีย ต้องให้เราในฐานะผู้ใช้สามารถสร้าง ประมวลผล และสื่อสารข่าวสารต่าง ๆ ได้
มัลติมีเดียจึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายอย่างที่ประกอบกัน หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็ไม่สามารถเรียกว่า "มัลติมีเดีย" เช่นถ้าขาดคอมพิวเตอร์จะทำให้เราไม่สามารถปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ สิ่งนั้นก็จะไม่ใช่มัลติมีเดีย..น่าจะเรียกว่าการแสดงสื่อหลายสื่อ แต่ถ้าขาดการเชื่อมโยงสื่อสาร ก็จะเหมือนกับเป็นข่าวสารไว้ในชั้นหนังสือ หรือถ้าขาดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ทำให้เราท่องไปหรือมีส่วนเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วยก็จะเหมือนกับดูภาพยนตร์และถ้าขาดช่องทางที่จะให้ผู้ใช้เข้าไปมีส่วนร่วม ก็จะเหมือนกับโทรทัศน์
ช่องสัญญาณสื่อสารสำคัญต่อมัลติมีเดีย
มัลติมีเดียประกอบด้วยเทคโนโลยีการสร้างและประมวลผลวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและรูปภาพ เมื่อมีการสื่อสารร่วมด้วย ทำให้ต้องใช้ช่องสัญญาณสื่อสารที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) รองรับการทำงานสื่อสารสองทิศทาง โดยเน้นการย่นระยะทางไกล ๆ ให้เสมือนอยู่ชิดใกล้โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
ระบบสื่อสารข้อมูลที่รองรับมัลติมีเดียต้องมีการรับประกันการบริการ (QoS - Quality of Service) กล่าวคือ การับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็นสายข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจะต้องถึงปลายทางตามกำหนดเวลา และให้รูปแบบที่ต่อเนื่องได้ลองนึกดูว่าหากต้องการส่งหรือรับข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่ประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหวก็ดี เสียงก็ดีจะต้องมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะขาดหายเป็นช่วง ๆ ไม่ได้ ดังนั้น คุณภาพของระบบมัลติมีเดียจึงเกี่ยวโยงกับระบบสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลอันรวดเร็วมากของซีพียูในคอมพิวเตอร์ด้วย
เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล
สิ่งที่สำคัญตามมาคือ "มาตรฐานของเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล" อาทิเช่นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลวิดีโอเป็น MPEG การบีบอัดข้อมูลเสียงเป็น MIDI และการบีบอัดเสียงพูดด้วย ADPCM หรือแม้แต่รูปภาพก็บีบอัดเป็น GIF หรือ JPEG เป็นต้น การบีบอัดทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น และยังใช้ที่เก็บความจุลดลง
ชนิดของโปรโตคอลสื่อสาร
เราแบ่งแยกชนิดของโปรโตคอลสื่อสารให้รองรับในระบบมัลติมีเดียออกเป็น 2 แบบคือ "โปรโตคอลเชื่อมโยง (Connection Protocol)" และ "โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง (Connection Protocol)"
"โปรโตคอลเชื่อมโยง" หมายถึง ก่อนการรับส่งสายข้อมูลจริง จะต้องมีการตรวจสอบสำรวจหาเส้นทาง เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งเชื่อมโยงกันได้ก่อน จากนั้นสายข้อมูลจึงจะไหลไปตามการเชื่อมโยงนั้น
"โปรโตคอลไม่เชื่อมโยง" อาศัยการส่งแพ็กเก็ตข้อมูลที่มีการกำหนดแอดเดรสไว้บนแพ็กเก็ต อุปกรณ์สื่อสารบนเส้นทางจะส่งต่อกันไปจนถึงปลายทางได้เอง
ดังนั้น การใช้มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงต้องมีการพัมนาเทคโนโลยีต่าง ๆ บนโปรโตคอลทั้งสองนี้ให้ใช้งานได้บนเครือข่าย ลักษณะของการประยุกต์มัลติมีเดียบนเครือข่ายจึงมีหลายรูปแบบ คือ
"การสื่อสารแบบ Broadcast" คือสถานีบริการหนึ่งสามารถส่งกระจายข่าวสารมัลติมีเดียไปให้กับผู้ขอให้บริการ (Client) ที่อยู่บนเครือข่ายได้ทุกเครื่องในเวลาเดียวกัน โดยต้องการให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับได้ นั่นคือร่วมเล่นเกมโชว์จากทางบ้านได้ เป็นต้น
"การสื่อสารแบบ Unicast or pointcast" เป็นการกระจายข่าวสารจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลแอนต์ในลักษณะเจาะจงตัว เช่น เซิร์ฟเวอร์เป็นสถานีบริการข่ายผู้ใช้อยู่ที่บ้านต้องการรับข่าวสารก็สามารถบอกรับ โดยเลือกหัวข้อข่าวสารต่าง ๆ ตามที่ตนเองสนใจ เมื่อเซิร์ฟเวอร์มีข่าวใหม่ในหัวข้อที่ผู้ใช้คนใดสนใจก็จะติดต่อส่งข่าวสารมาให้โดยเลือกส่งเฉพาะบุคคล
"การสื่อสารแบบ Multicast" การสื่อสารแบบนี้แตกต่างจากแบบ Broadcast ซึ่งกระจายข่าวสารทั่วทั้งเครือข่าย แต่ Multicast จะกระจายแบบเจาะจงไปยังผู้ใช้ตามที่ได้เรียกขอมา
MBONE ทำให้สารสื่อสารข้อมูลที่ไปยังผู้ใช้ ลดลงเหลือเพียงสายเดียว
การพัฒนาระบบเครือข่าย
หากพิจารณาดูว่าถ้ามีข่าวสารแบบมิลติมีเดียอยู่มากมายวิ่งอยู่บนเครือข่าย เช่น การให้บริการข่าวหนังสือพิมพ์ การให้บริการคาราโอเกะ การเรียนการสอนทางไกล การบริการทางการแพทย์ การซื้อขายของบนเครือข่าย ฯลฯ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายจะมีความหนาแน่นเพียงไร
สายสื่อสารข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายคงต้องการระบบสื่อสารข้อมูลที่มีแถบกว้างมาก (Hing Bandwidth) และต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงที่รองรับการให้บริการต่าง ๆ การส่งสายสื่อสารข้อมูลไปให้ผู้ใช้จำนวนมากบนเครือข่าย อาจจะทำให้เกิดปัญหาการใช้สายสื่อสารข้อมูลจำนวนมาก ปัญหานี้สามารถลดได้ด้วยการส่งสายสื่อสารข้อมูลเพียงสายเดียวในเครือข่าย อุปกรณ์สวิตชิ่งจะส่งกระจายไปหลาย ๆ ที่ตามที่ผู้ใช้ต้องการได้เองลักษณะการส่งกระจายบนเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า "Multicast Backbone (MBONE)" แนวโน้มการขยายตัวของโลกในเครือข่ายหรือไซเบอร์สเปซ มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงขอฝากไว้กับการพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายให้รองรับการประยุกต์ใช้งานมัลติมีเดีย
--------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น